เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ระบบแห้ง
เสาเข็มเจาะแบบแห้ง (Dry Process)
เสาเข็มเจาะแบบแห้ง (Dry Process) เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก หรือเรียกว่าเข็มสามขา เป็นเสาเข็มที่หมาะกับสภาะดินที่เจาะแล้วไม่พบน้ำใต้ดินหรือชั้นทรายอัดแน่นไม่เกิดการพังทลายของหลุมเจาะ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.35-0.60 เมตร ความลึกของหลุมเจาะไม่มากนักก้นหลุมควรอยู่ในระดับชั้นดินเหนียวแข็ง หรือระดับชั้นทรายที่ไม่มีน้ำ ส่วนใหญจะลึกไม่เกิน 20 เมตร (ขึ้นอยู่กับระดับชั้นของดิน)
วิธีการทำงานและขั้นตอนการทำงาน
1.การลงปลอกเหล็กชั่วคราว
ที่กำหนด ใช้ตุ้มเหล็กน้ำหนัก 900 กิโลกรัม ตอกปลอกเหล็กชั่วคราวซึ่งมีความยาว 1.20-1.50 เมตรลงดิน โดยแต่ละท่อนจะยึดติด ด้วยเกลียว โดยจะตอกลงไปจนถึงระดับที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เพื่อปกป้องกันการพังทลายของดินลงมาในหลุมที่ขุดเจาะ
2.การขุดเจาะดินด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket)
ใชกระเช้าเก็บดิน (Bucket) ขุดเจาะเอาดินในปลอกเหล็กชั่วคราวออกจนถึงระดับความลึกที่ต้องการ ทำการตรวจวัดระดับความลึกก้นหลุมด้วยเทปวัด ก่อนดำเนินการขั้นตอนต่อไป
3.การใส่เหล็กเสริม
นำเหล็กเสริมที่มีความยาว 10+5+5 เมตร และระยะการต่อทาบเหล็กในแต่ละวงเป็นท่อ 40 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กตามมาตรฐาน วสท. และมีระยะเล็กปลอกไม่เกิน 0.20 เมตร ใส่ในท่อเหล็กที่เจาะ โดยยกให้ปลายเหล็กพ้นจากก้นหลุมประมาณ 0.50 เมตร เพื่อประคองโครงเหล็กให้อยู่ตรงกลางหลุมเจาะต้องใส่ลูกปูน (Mortar) กันไว้เป็นระยะ โดยให้มีระยะ (Covering) ไม่น้อยกว่า 7.5 เซนติเมตรโดยรอบ
4.การเทคอนกรีต
การเทคอนกรีตนั้น ต้องผ่านกรวยเทคอนกรีต (Hopper) เพื่อให้คอนกรีตหล่นกลางหลุม โดยไม่ปะทะกับผนังรูเจาะ ซึ่งจะช่วยลดการแยกตัวของคอนกรีต และจะช่วยให้เกิดการควบคุมค่า Slump Test ให้อยู่ระหว่าง 10-12.5 ซ.ม. โดยการเทนั้นต้องเทให้เต็มหรือเกือบเต็มหลุม ก่อนจะทำการถอนปลอกเหล็ก เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องและมองเห็นการยุบตัวของคอนกรีตได้ชัดเจน เพื่อเป็นการตรวจสอบในระดับหนึ่งว่าเข็มมีความสมบูรณ์ตลอดความยาว
5.การถอนปลอกเหล็ก
การถอนปลอกเหล็กหรือ Casting ขึ้นนั้น จะทำการถอนขึ้นทีละ 1 ท่อน โดยขณะถอนนั้นต้องให้ปูนอยู่ใน Casing ตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้ดินรอบข้างบีบอัดตัวจนทำให้หัวเข็มเสียรูปทรง หรือกันน้ำใต้ดินไหลเข้ามาในรูเจาะ และเมื่อคอนกรีตยุบตัว จะต้องเทคอนกรีตตามลงไปเพื่อให้ได้ตามระดับที่ต้องการ โดยปกติหัวเสาเข็มเจาะ จะต้องเผื่อระยะไว้เพื่อสกัดคอนกรีตที่มีสิ่งสกปรกออกประมาณ 30-50 ซ.ม.
6.ทำเสาเข็มต้นต่อไป
การทำเสาเข็มเจาะต้นถัดไป ต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มต้นเดิม ไม่น้อยกว่า 6 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม แต่หากเกิดกรณีเสาเข็มหลีกเลี่ยงได้ โดยต้องเจาะเสาเข็มโดยที่ระยะห่างไม่ถึง 6 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางนั้น ควรทิ้งระยะเวลาให้เสาเข็มโดยที่ระยะไม่ถึง 6 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางนั้น ควรทิ้งระยะเวลาให้เสาเข็มต้นที่เทปูนไปแล้วเซตตัวอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และเมื่อทำงานเสร็จครบจำนวนต้นแล้ว ก็จะมีการทำความสะอาดพื้นที่ให้ทีมงานอื่นเข้ามาทำงานต่อได้อย่างราบรื่น