บริการของเรา

เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ระบบเปียก

เสาเข็มเจาะแบบเปียก (Wet Process)

                เสาเข็มเจาะแบบเปียก (Wet Process) เป็นเสาเข็มที่เหมาะกับสภาพดินที่มีชั้นทรายหรือน้ำใต้ดิน จำเป็นต้องใช้ของเหลวช่วยเพิ่มแรงกดดันในหลุมเจาะเพื่อป้องไม่ให้หลุมเจาะพัง เส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มมีขนาดตั้งแต่ 0.60 เมตร ขึ้นไป ไม่จำกัดความลึกของหลุมเจาะ

วิธีการทำงานและขั้นตอนการทำงาน

1.อุปกรณ์การเจาะ

34892-1.jpg (126 KB)

การเจาะหลุมเสาเข็มจะใช้เครื่องจุดเจาะ SOILMEC ระบบสว่านหมุน รุ่น RT3-s หรือรุ่นที่คล้ายกัน โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะติดตั้งบนรถเครนที่มีสมรรถนะพอเพียงสำหรับเครื่องเจาะรุ่นนี้ เครื่องขุดเจาะจะประกอบด้วยแท่นเจาะ และก้านเจาะ โดยปลายก้านเจาะจะเป็นสว่านและถังตักดินหมุนควงลงไปในดินแล้วตักดินขึ้นมา

2.การวางตำแหน่งของเสาเข็มเจาะ

1.1.jpg (130 KB)

การวางตำแหน่งของเสาเข็มเจาะ จะเริ่มกำหนดตำแหน่งของเสาเข็มเจาะโดยช่างสำรวจ  เมื่อได้ตำแหน่งของเสาเข็มแล้วจะทำการวางหมุด ณ ตำแหน่งศูนย์กลางของเสาเข็มเจาะโดยทำการอ้างอิงตำแหน่งออกออกจากจุดศูนย์กลางเป็น 2 แกนให้ตั้งฉากกัน เพื่อสำหรับตรวจวัดตำแหน่งที่แน่นอนในขั้นตอนของการติดตั้งปลอกเหล็กชั่วคราว

3.การติดตั้งปลอกเหล็กชั่วคราว

2.1.jpg (96 KB)

หลังจากการสำรวจและกำหนดตำแหน่งของเสาเข็มแล้ว จึงกดปลอกเหล็กชั่วคราว เพื่อป้องกันดินชั้นบนที่เป็นดิน

อ่อนพังทลายลงไปในหลุมเจาะ  ความยาวของปลอกเหล็กชั่วคราวขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นดินอ่อนและเส้นผ่าศูนย์กลางปลอกเหล็กชั่วคราวจะเท่ากับขนาดเส้าผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มเจาะการติดตั้งปลอกเหล็กชั่วคราวนั้น ต้องติดตั้งในตำแหน่งหมุดที่วางไว้ โดยใช้ระยะอ้างอิงออกมาจากจุดศูนย์กลางเป็นตัวควบคุมตำแหน่ง และค่าคลาดเคลื่อนที่ยอกให้แนวราบที่ยอมรับได้นั้นจะต้องไม่เกิน 50 มิลลิเมตร และความลาดเอียงของตัวปลอกเหล็กต้องไม่เกิน 1:100

เครื่องมือที่ใช้ตอกปลอกเหล็กชั่วคราว จะเป็นเครื่องกดแบบเขย่าระบบไฮดรอลิก SOILMEC รุ่นVS8 หรือรุ่นที่คล้ายกัน โดยเครื่องกดปลอกเหล็กชั่วคราวจะมีปากคีบสำหรับหนีบปลายหรือส่วนบนสุดของปลอกเหล็กชั่วคราว และยกขึ้นติดตั้งลงในหลุมเจาะโดยรถเครนบริการที่มีสมรรถนะเพียงพอ

4.ขั้นตอนการขุดเจาะ

3.1.jpg (89 KB)

ปลอกเหล็กชั่วคราวที่ติดตั้งไว้ก่อนที่จะขุดเจาะนั้นจะป้องกันการพังทลายของหลุมเจาะในดินอ่อนชั้นบน ทำการเจาะโดยใช้สว่านเจาะจนได้ความลึก 15 เมตร หรือถ้าพบน้ำใต้ดินระหว่างการขุดเจาะ ก็จะเติมของเหลวพยุงหลุมเพื่อเพิ่มเสถียรภาพผนังของหลุมเจาะไม่ให้พังทลายลงมา และเพื่อที่จะสามารถดำเนินการขุดเจาะจนถึงระดับความลึกที่ต้องการได้ ระดับของเหลวพยุงหลุมในหลุมเจาะต้องอยู่สูงพอที่จะมีแรงดันมากกว่าแรงดันของดินรวมกับแรงดันของน้ำใต้ดิน   ในกระบวนการขุดเจาะหัวสว่านหรือถังเก็บดินจะหมุนพร้อมกับถูกกดลงในดิน ดินที่ขุดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นในถังเก็บดิน และเมื่อดินเต็มถัง ก้านเจาะก็จะยกตัวสูงขึ้นจากหลุมเจาะและนำดินที่ขุดเจาะมาทิ้งไว้ข้างๆปากหลุมหรือถังที่จัดเตรียมไว้ แล้วหย่อนหัวสว่านหรือถังเก็บดินลงไปในหลุมเจาะเพื่อขุดดินและนำดินขึ้นมาทิ้งอีกจนถึงระดับที่ต้องการ ในขั้นตอนนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษกับตัวรถเครนที่ติดตั้งแท่นเจาะซึ่งจะต้องอยู่ในแนวราบ และก้านเจาะต้องอยู่ในแนวดิ่งเพื่อให้หลุมเจาะได้ดิ่งตามต้องการการวัดความลึกของก้นหลุมเจาะนั้น จะใช้สลิงวัดหลุมเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความลึกของหลุมเจาะ

5.การขนย้ายดินที่ขุดขึ้นมา

4.1.jpg (109 KB)

สำหรับดินที่ถูกขุดขึ้นมาแล้วนั้นจะถูกนำมากองอยู่ข้างๆของหลุมเจาะ และจะถูกขนย้ายออกจากหน่วยงานเพื่อนำไปทิ้งในสถานที่ๆเหมาะสมต่อไป

6.การติดตั้งเหล็กเสริมในเสาเข็ม

6.1.jpg (103 KB)

การผูกและประกอบเหล็กเสริมของเสาเข็มจะทำที่ลานผูกเหล็กตามแบบซึ่งได้รับอนุมัติ ซึ่งอาจมีหลายท่อนตามแบบเหล็กเสริมพร้อมกับลูกปูนจะถูกยกและติดตั้งในหลุมเจาะโดยรถเครนบริการจำนวน ชนิด และขนาด ของเหล็กเสริมจะประกอบขึ้นตามแบบและข้อกำหนด การเชื่อมต่อของกรงเหล็กแต่ละท่อนจะใช้เหล็กรูปตัวยูมัด

8.การเทคอนครีต

9.1.jpg (103 KB)

ขั้นตอนการเทคอนกรีตถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญและต้องให้ความสำคัญมากในการทำเสาเข็มเจาะ การเทคอนกรีตต้องเทอย่างต่อเนื่องผ่านท่อเทคอนกรีตโดยปลายท่อเทคอนกรีตจะต้องจมอยู่ในเนื้อคอนครีตที่เทลงในหลุมเจาะอย่างน้อย2เมตร

 คอนกรีตที่ใช้ต้องเป็นคอนกรีตผสมเสร็จมีคุณสมบัติและคุณภาพตามข้อกำหนด รายละเอียดมีค่ายุบตัวระหว่าง 17.5 - 2.5 ซม หลังจากเสร็จสิ้นการเทคอนกรีต จะทำการถอนปลอกเหล็กชั่วคราวจากหลุมทันที ด้วยเครื่องมือชนิดเดียวกับที่ใช้กดปลอกเหล็กชั่วคราว  ในการที่จะเจาะเสาเข็มต้นต่อไปจะต้องให้มีระยะห่างอย่างน้อย 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเข็มของต้นที่เพิ่งเทคอนกรีตเสร็จ หรือทิ้งระยะเวลา 24 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย