บริการของเรา

เสาเข็มไมโครไพล์

80388.jpg (199 KB)

เสาเข็มไมโครไพล์

เสาเข็มไมโครไพล์ คือ เสาเข็ม ที่ใช้เครื่องจักรเล็กในการตอก ใช้เสาเข็มที่มีความยาว 1.5-3.00 เมตร ซึ่งเสาเข็มแต่ละท่อนสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้วิธีตอกลงไปในดินจนถึงชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักได้ ประเภทของ เสาเข็ม มีดังนี้

  • SPUN MICROPILE (เสาเข็มกลม)
  • I MICROPILE (เสาเข็มไมโครไพล์ รูปตัวไอ)
  • SQUARE MICROPILE (เสาเข็มไมโครไพล์ หน้าตัดสี่เหลี่ยม)

วิธีการทำงานและขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนที่ 1 ย้ายเครื่องจักรเข้าตำแหน่งที่ต้องการลงเสาเข็มไมโครไพล์ และ ทำการเช็คออฟเซ็ต หาจุดกลางเสาเข็ม

7.jpg (1017 KB)1.jpg (728 KB)2.jpg (677 KB)

ขั้นตอนที่ 2

นำเสาเข็มไมโครไพล์ท่อนแรกไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้

3.jpg (714 KB)

ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับน้ำเพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน X และ แกน Y

3-1.jpg (405 KB)

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อทดสอบแนวดิ่งที่ถูกต้อง ตามที่ต้องการแล้วหลังจากนั้นจึงทิ้งตุ้ม เพื่อตอกเสาเข็มไมโครไพล์ท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบเสมอดินเดิม แล้วจึงนำเสาไมโครไพล์ท่อนที่ 2 มาจรดกับเสาเข็มท่อนแรกในแนวตรง แล้วจึงทดสอบด้วยมาตรวัดระดับน้ำอีกครั้ง

6.jpg (993 KB)

ขั้นตอนที่ 5 หลังจากที่นำเสาท่อนที่ 2 วางจนได้แนวดิ่งที่ตรงกันกับเสาท่อนแรกแล้วใช้หมวกเหล็กตามขนาดเสาเข็ม เป็นตัวบังคับไม่ให้เสาท่อนที่ 2 เคลื่อนออกจากตำแหน่ง แล้วจึงทำการลงมือเชื่อมต่อเหล็กที่เพลทเหล็กหัวเสาเข็ม ให้ติดกันโดยเสาเข็มที่นำมาเชื่อต่อกันจะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัด เท่ากันลักษณะการเชื่อมจะเชื่อมเต็มรอบหัวเสาเข็ม ให้เสาทั้งสองท่อนต่อกันสนิทและเป็นเส้นแนวตรง จากนั้นจึงใช้เครื่องจักรตอกลงไปต่อ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ Blow Count ความลึกตามความเป็นจริง หรือตามที่กำหนดไว้

4.jpg (888 KB)

ขั้นตอนที่ 6 การตอกเสาเข็มให้ได้ Last 10 Blows เสร็จสิ้นเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้นมิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมลงไปในดินเท่านั้น จะต้องจดจำนวนครั้งในการตอกด้วย ว่าเสาเข็มแต่ละต้น ใช้จำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจะได้ Last 10 Blows ที่ 1.00-1.50 ซม. หากได้ตามมาตรฐานตามรายการคำนวณแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเสาเข็ม และขนาดหน้าตัดของเสาเข็มนั้นๆ ด้วย

814445.jpg (33 KB)